ประเพณี+พื้นบ้าน

ประเพณี+พื้นบ้าน
ของชาว บุรีัรัมย์

๑.ประเพณีโดนตา


แซนโดนตา ไหว้ปู่ตา อีสานใต้เริ่มเข้าใกล้ มาแล้ว พี่น้องจ๋าพวกเราต่าง รอวัน และเวลาที่เวียนมา ครบรอบ ประเพณีแรมสิบสี่ เดือนสิบ ต้องเตรียมของข้าวต้มตอง ใบพร้าว ห่อเข้าที่ปิ้งปลาเนื้อไก่ย่าง ให้มากมีกับข้าวมี เตรียมไว้ ไหว้ตอนเย็นอีกขนม นมเนย เตรียมไว้พร้อมรวมพี่น้อง ตอนเย็น ได้เห็นหน้าพวกเราชาว พื้นเมือง ไหว้ปู่ตาสิ่งรักษา ให้เรา ตอนบ่ายดีร่วมรวมญาติ พี่น้อง หัวเราะร่าหยอกเย้ามา แต่ไกล รื่นเริงที่จัดเตรียมสิ่ง เซ่นไหว้ ประดามีบุพการี ล่วงลับ ต้อมโฮมกันมีทั้งข้าว กับหวาน สุราเลิศใจประเสริฐ พวกเรา ร่วมสังสรรค์ผู้ล่วงลับ อยู่ไหน มากินกันจุดเทียนอัน น้อยน้อย มาขบกินไหว้เวียนเสร็จ พวกเรา ม่วนสนุกเสียงซอทุก เส้นเสียง บรรเลงลิ้นรวมพี่น้อง ของเรา มาเพริศพริ้งอยู่ต่างถิ่น ฐานไหน มารวมกันร่วมสนุกใน วงศา คณาญาติต่างผุดผาด ถามข่าว และสังสรรค์แนบความรัก ระหว่างญาติ มาผูกพันต้อมโฮมกัน มีสุข สวรรค์ใจในตอนเช้า พากัน ไปตักบาตรพร้อมห่อสารท ตระเตรียม สลากไว้มีซิ่นผ้า หน้าแพร และหมากไม้ตระเตรียมไป ที่วัด ในตอนสายถึงวัดแล้ว แก้สารท สลากอ่านอุทิศทาน เพื่อญาติ เขียนไว้ให้นั่งรออ่าน จนเสร็จ อิ่มเอิบใจตองสารทเก็บ เอาไว้ ไปใสนาเสียงซอสาย กันตรึม ดังสนั่นฤดีอัน ได้อิ่ม ผลบุญหนาอุทิศส่วน กุศล ให้ปู่ตาหนึ่งปีได้ เซ่นสา ต้อมโฮมกัน

วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ในอีกไม่กี่เดือน ที่จะถึงนี้เทศกาลอันเป็นงานบุญของชาวไทยเขมรที่ยิ่งใหญ่ก็จะเริ่มขึ้นแล้ว นั่นก็คือ เทศกาลงานบุญประเพณีแซนโดนตา หรือประเพณีเซ่นผีปู่ตาในเดือนสิบ หรือถ้าเรี่ยกกันแบบเต็มๆตามชื่อเรียกของชาวไทยเขมรว่า แซนโดนตาแคเบ็น หมายถึง การเซ่นผีปู่ตาเดือนสิบหรืองานบุญสารทเดือนสิบนั่นเอง ซึ่งชาวไทยเขมรทุกที่ทั่วระแหงไม่ว่าในไทยหรือฝั่งกัมพูชาจะต้องประกอบกิจประเพณีพิธีกรรมงานบุญนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วเป็นประจำทุกปี

เครื่องเซ่นโดนตาประกอบด้วยอาหารขาวหวานต่างๆมากมาย
งานแซนโดนตานั้นเป็นกิจกรรมหลัก ในวันสารทเขมรโดยสารทเขมรแบ่งออกเป็นสองช่วงคือ วันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันเบ็นธม(สารทใหญ่) อันเป็นวันที่ชาวบ้านต้องมีการแซนโดนตาโดยก่อนจะถึงวันนี้ ชาวบ้านจะมีการตระเตรียมข้าวของต่างๆมากมายที่จำเป็นต้องใช้ในการเซ่น ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ข้าวต้มหมัดที่ห่อจากใบตองที่ชาวเขมรเรี่ยกว่า อันซอมเจ๊ก และที่ห่อจากใบมะพร้าวเรี่ยกว่า อันซอมโดง ไก่ย่าง ปลาย่าง หมูย่าง เนื้อวัวย่าง ผัก ผลไม้ อาหารแห้ง หมากพลู และของที่จำเป็นต่างๆอีกมากมาย

ซึ่งบรรยากาศในท้องตลาดสี่ถึงห้าวันก่อนวันแซนโดนตาไม่ว่าจะเป็นในตัวอำเภอ หรือจังหวัดที่มีชุมชนคนไทยเขมรอาศัยอยู่อย่างเช่น ที่สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ถ้าท่านผ่านไปในชุมชนหรืออำเภอ ในช่วงดังกล่าวจะมีความจอแจเออัด เต็มไปด้วยกลุ่มคนเชื้อสายเขมรมาจับจ่ายข้าวของเตรียมงานกันอย่างหนาตา โดยเฉพาะตลาดกล้วยที่มาจากแหล่งต่างๆ ต่างขนมาเป็นนับร้อยๆคันรถ มาขายในที่ที่เป็นชุมชนชาวเขมรซึ่งกล้วยนับเป็นผลไม้มงคลที่จำเป็นที่สุดในการนำไปประกอบเครื่องเซ่นในพิธีดังกล่าว

วันแซนโดนตาจะเริ่มขึ้นในเช้าวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเช้าตรู่ของวันนี้ชาวบ้านจะต้องตื่นมาเตรียมทำอาหาร คาว หวาน และข้าวของที่ได้จากการเตรียมไว้ก่อนหน้านี้ มาจัดวางสำหรับลงในกระเชอที่เรี่ยกว่า กันจือเบ็น(กระเชอเบ็น) โดยมีการจัดวางอย่างสวยงามไม่ว่าจะเป็น ข้าวต้มทั้งสองอย่างดังที่กล่าวแล้ว ปลา ไก่ เนื้อหมู วัว ย่าง ผลไม้ ผัก ขนมนมเนย อาหารแห้งต่างๆ ที่จำเป็น ซึ่งครอบครัวทุกครอบครัวที่แยกตัวออกมาจากพ่อแม่มามีลูกมีหลานจะต้องเตรียม กันจือเบ็น(กระเชอเบ็น) พอตกถึงเวลาประมาณ 15 - 17 นาฬิกา

ลูกหลานหรือครอบครัวต้องนำ กันจือเบ็น(กระเชอเบ็น)ไปที่บ้านพ่อแม่ของตนหรือที่บ้านบรรพบุรุษเรี่ยกว่า จูนกันจือเบ็น (ส่งกระเชอเบ็น) โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกหลานและบรรพบุรุษมากๆจะมีความสนุกสนานอบอุ่นพร้อมหน้าพร้อมตากันได้พบปะพูดคุยกัน พอตกเย็นเวลา 17 – 19 นาฬิกา จะมีพิธีแซนโดนตาเริ่มขึ้นโดยนำข้าวของที่ลูกหลานนำมา มาเซ่นซึ่งจะมีคนเฒ่าคนแก่และลูกหลานในสายตระกูลและเพื่อนบ้านมาร่วมพิธีซึ่งแต่ละบ้านที่เป็นหัวหน้าหรือมีสายสัมพันธ์กันกลุ่มคนเฒ่าคนแก่จะเวียนพากันไปแซนโดนตาจนครบบ้านแต่ละเครือญาติจนหมด พิธีแซนโดนตานี้จะกระทำกันบนบ้านและต้องเรียกชื่อญาติพี่น้องที่ตายไปแล้วให้มารับเครื่องเซ่นให้ครบทุกคนถ้าไม่ครบอาจเกิดการไม่พอใจแก่ผีบรรพบุรุษจะทำให้ครอบครัวไม่สบาย ซึ่งระหว่างนี้ก็จะมีการละเล่นบรรเลงเพลงกันตรึม มโหรี กันอย่างสนุกสนานครื้นเครง


หลังจากนั้นเช้ามืดประมาณตีสี่ของวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 เจ้าบ้านต้องตื่นมาเซ่นอีกครั้งและเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระทำบุญที่วัด พอสายหน่อย ก็จะนำข้าวของเหล่านี้ลงกระเชอเช่นเดียวกับกระเชอเบ็นเพื่อนำไปวัด โดยที่กระเชอเบ็นนี้จะมีการใส่บายเบ็นหรือบายตะเบิ๊ดตะโบร(ข้าวปั้นเป็นก้อนเล็กๆ) ห่อใบตอง ประดับในกระเชอด้วย และมีการปักประดับด้วยรวงข้าวสารที่ทำขึ้นจากนำก้านมะพร้าวมาทาด้วยข้าวต้มให้เหนียวแล้วทาบให้ข้าวสารติดนำไปประดับในกระเชอ และที่ก้นกระเชอนี้จะมีข้าวต้มและผลไม้ต่างนำมาตัดเป็นท่อนเป็นแว่นเพื่อไว้ไปเซ่นผีปูตาที่วัด พอถึงเวลาประมาณแปดโมงเช้า ชาวบ้านต้องยกกระเชอเหล่านี้ไปที่วัดซึ่งจะเป็นหน้าที่ของผู้ชายเพื่อไปประกอบพิธีที่เรียกว่าการแห่ บายตะเบิ๊ดตะโบร(ข้าวปั้นเป็นก้อนเล็กๆ) ห่อใบตอง ไปที่วัด และให้ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้มีความรู้อ่านภาษาธรรม ได้ อ่านสารท ซึ่งเป็นการกล่าวอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายแล้วในครอบครัว จากนั้นก็จะนำบายตะเบิ๊ดตะโบร(ข้าวปั้นเป็นก้อนเล็กๆ) นำไปโยนหรือวางรอบโบสถ์วิหารเจดีย์อัฐิ ผู้ตายส่วนข้าวต้มและผลไม้ที่ตัดเป็นท่อนๆก็จะนำไปวางที่เดียวกัน หลังจากเสร็จสิ้นพิธีนี้ขากลับบ้านชาวบ้านจะต้องเหลือข้าวต้มและผลไม้ที่ตัดเป็นท่อนบางส่วน และใบตองที่ห่อ บายตะเบิ๊ดตะโบร กลับไปไว้นำไปเซ่นที่นาด้วย

วงมโหรีมีการเริ่มบรรเลงเพลงรออยู่ที่วัดแล้วหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแห่ บายตะเบิ๊ดตะโบร ถือเป็นการเสร็จสิ้น ประเพณีแซนโดนตา งานบุญสารทเดือนสิบของชาวไทยเขมร
                                              

                                     ๒.ประเพณี ทอดกฐิน


ประเพณีทอดกฐินนี้เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาลเพราะเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนถือว่าเมื่อได้ทอดกฐิน แล้วจะเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ เป็นผลบุญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า "กฐิน" แปลว่า กรอบไม้สำหรับขึงเย็บผ้าจีวรของพระภิกษุสงฆ์  เรียกว่า  "สดึง"เพราะในสมัยโบราณไม่มีจักรเย็บผ้าจึงต้องอาศัยสะดึง เมื่อสำเร็จเป็นผ้ากฐินแล้วจึงได้นำไปทอดแก่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ตลอด 3 เดือนเรียกว่า "ทอดกฐิน"การทอดกฐิน  ก็คือการนำผ้ากฐินไปไว้ต่อหน้าสงฆ์ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูป โดยมิได้เจาะจงว่าจะถวายภิกษุรูปใด พร้อมกับกล่าวคำถวายกฐินเมื่อจบคำถวายแล้วพระสงฆ์จะรับพร้อมกันว่า "สาธุ" แล้วผู้เป็นเจ้าภาพหรือเป็นประธานในการทอดกฐินนั้นก็เข้าไปเอาผ้าไตรกฐินประเคนภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้หรือจะไม่ประเคนเอาไปวางไว้เฉยๆ ก็ได้แล้วต่อจากนั้นก็ จัดการถวายเครื่องบริขารต่างๆ ตามที่ได้เตรียมมาต่อจากนั้นพระสงฆ์ก็จะได้จัดการมอบผ้าไตรกฐินนั้นให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ลงความเห็นแล้วว่าเป็นผู้สมควรจะได้รับผ้านั้นเมื่อท่านทำพิธีกรานกฐินเสร็จแล้ว ท่านก็จะได้อนุโมทนาต่อไป

ประเพณีการทอดกฐินอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "จุลกฐิน" ซึ่งถือ
กันว่าได้รับอานิสงส์มากเช่นเดียวกันวิธีทอดต้องไปเก็บเอา
ฝ้ายมาปั่นเป็นด้ายแล้วทอให้เป็นผืนผ้ากฐินให้เสร็จ  ในวัน
เดียวกัน   แต่การทอดจุลกฐินต้องช่วยกันหลายคน จึงแล้ว
เสร็จในวันเดียว และต้องให้ทันกับเวลาอีกด้วย

     ระยะเวลาในการทอดกฐินมีกำหนดตั้งแต่ แรม 1ค่ำ เดือน11 ไปจนถึงกลางเดือน12 มีกำหนด 1  เดือนภายหลังจาก ออกพรรษาแล้วจะทอดก่อนหรือหลังที่กำหนดนี้ไม่ได้ วิธีทอดกฐินซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้ มี 2  อย่าง  คือ พระอารามใดที่เป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดด้วยพระองค์เองบ้างหรือพระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือผู้แทนพระองค์ไปถวายแทนพระองค์บ้าง พระราชทานให้กรมกองต่างๆนำไปทอดบ้าง

การสมโภสกฐิน+ฉลองกฐิน
อันนี้แล้วแต่หมู่บ้านใครจะจัดนะครับ
ผมเลยนําการฉลองกฐินของ บ้านเสม็ด มาฝากครับ

..................................................................